Import Fundamentals

บริษัท ทิฟฟ่า อีดีไอ เซอร์วิสเซส จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 โดยมีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทย 100% ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจในด้านการให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบของ Value Added Network (VAN) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นไปในลักษณะ Completed Logistics และสามารถรองรับการขนส่งในรูปแบบของ Multi-Modal Transport ได้อย่างสมบูรณ์ โดยเริ่มต้นเข้าสู่กลุ่มผู้ใช้งานกับกรมศุลกากรเพื่อให้ผู้ส่งออก นำเข้า ตัวแทน สามารถดำเนินพิธีการศุลกากรได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จนเป็น VAN อันดับหนึ่งที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในขณะนี้

บริษัทฯ ได้นำความรู้และประสบการณ์ทางด้าน Logistics ซึ่งเป็นจุดแข็งขององค์กรและทีมงานในการเข้าสู่ธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้นไม่เพียงการให้บริการระหว่างองค์กรกับหน่วยงานรัฐบาล (B2G) เท่านั้นแต่บริษัทฯ ยังก้าวเข้าสู่การให้บริการระหว่างองค์กรกับองค์กรด้วยกัน (B2B) ไม่ว่าจะเป็นด้านการขนส่งระหว่างบริษัทเดินเรือกับท่าเรือแห่งประเทศไทย และท่าเรือเอกชน ตลอดจนการให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างห้างสรรพสินค้ากับผู้ผลิตผู้จำหน่าย (Suppliers)

บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของข้อมูลที่เกิดประโยชน์สูงสุดได้ต้องมาจากการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภายในและภายนอกเพื่อนำข้อมูลนั้นไปใช้งานต่อได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ซึ่งนอกจากความพร้อมที่ผู้ใช้บริการจะต้องมีแล้ว ทางบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการจะต้องมีเครื่องมือที่ทันสมัย ปลอดภัย เพื่อเสริมประสิทธิภาพให้การเชื่อมโยงข้อมูลนั้นสัมฤทธิ์ผลอีกด้วย วันนี้ TIFFA EDI ก้าวเข้าสู่ผู้รับพัฒนาระบบ (Outsourcing) และพัฒนา Package Software ขึ้นมากมาย ทั้งรูปแบบ Web Application, Client/Server Application อาทิ โปรแกรมบริหารการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (ASFreight), โปรแกรมการควบคุมและตรวจสอบงานสำหรับ Shipping (Job Control) และในปี 2548 นอกจากจะได้ผ่านการประมูลเพื่อเข้าไปพัฒนาระบบสถิติให้กับท่าเรือแหลมฉบังแล้ว ยังได้สร้างผลงานโดยการเป็นผู้นำและพัฒนาระบบ RFID (Radio Frequency Identification) มาใช้ระหว่างบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล จำกัด กับกรมศุลกากรเพื่อทำการ Tracking ตู้คอนเทนเนอร์ได้เป็นผลสำเร็จในเขต Free Zone ซึ่งนับว่าเป็นรายแรกของประเทศไทย

ปัจจุบัน บริษัทได้รับการแต่งตั้งจาก AIS เพื่อให้เป็นตัวแทนในการดูแลสินค้าและบริการต่างๆ มากมาย เช่น ระบบลดต้นทุนองค์กร ระบบ Blackberry เป็นต้น เพื่อให้งานด้านโลจิสติกส์เกิดประสิทธิผลทั้งในส่วนของการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสื่อสาร